มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีภัยแล้ง และความร้อน ปีงบประมาณ2564

มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีภัยแล้ง และความร้อน ปีงบประมาณ2564

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภค บริโภคใช้เอง โดยใช้แหล่งน้ำจากน้ำบาดาล จำนวน 2 ชุด ผลิตได้ชุดละประมาณ 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน( รวม 2 ชุดผลิตได้ 240 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) ปัจจุบันมีปริมาณการใช้น้ำประมาณ 110 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคประมาณเดือนละ 35,000 บาท จาก ราคาค่าน้ำประปาส่วนภูมิภาคที่ 16 บาท ต่อ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งราคาต้นทุนการผลิตเองประมาณ 7 บาทต่อลูกบาศก์เมตรและกำลังการผลิตน้ำประปาบาดาล ประมาณ 120 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน/1 ระบบ และมีการกักเก็บน้ำไว้ตามแท้งต่าง ๆ บนอาคารและใต้ดิน ประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตร

การวางแผนงานลำดับการใช้น้ำในสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ดำเนินการ

กรณีที่ 1 สถาบัน ฯ ผลิตน้ำประปา โดยใช้น้ำดิบ จากแหล่งน้ำบาดาล

  1. สถาบัน ฯ ผลิตน้ำประปาใช้เอง 2 ชุด ผลิตได้ประมาณ 240 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน(แผนดำเนินการ ธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564)
    – ปรับปรุงโดยพัฒนาบ่อบาดาล 2 บ่อ
    – เปลี่ยนสารกรองน้ำ จำนวน 2 ชุด
  2. เมื่อเจ้าหน้าที่พบหรือได้รับแจ้ง น้ำรั่ว หรือระดับน้ำในถังเก็บใต้ดิน ลดต่ำผิดสังเกต
    – ในเวลาราชการ แจ้ง งานซ่อมบำรุง กลุ่มงานโครงสร้าง ฯ ทำการตรวจเช็ค หาสาเหตุ หากพบจุดน้ำรั่ว ให้รีบดำเนินการแก้ไข
    – นอกเวลาราชการ แจ้งเวรบริหาร ฯ ทำการตรวจเช็คหาสาเหตุ หากพบ แจ้งเจ้าหน้าที่งานซ่อมบำรุง กลุ่มงานโครงสร้าง ฯ ร่วมแก้ไข
  3. แก้ไขตามขั้นตอนการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในกรณีเร่งด่วน (ให้แล้วเสร็จภายใน 4 ชั่วโมง หรือทำการปิดการไหลของน้ำโซนที่พบปัญหา)
    – ดำเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จ จ่ายน้ำให้เป็นปกติ
    – หากแก้ไขไม่ได้ภายในเวลาที่กำหนด ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย/ แจ้งผู้รับบริการให้ทราบโดยการโทรศัพท์ ประสานให้ผู้รับบริการทราบ และแจ้งให้ใช้งาน ณ จุดอื่นแทน และดำเนินการแจ้งผล รายงานตามลำดับต่อ ไป

หมายเหตุ สถาบัน ฯ มีการสำรองมอเตอร์ปั๊มน้ำในระบบผลิตไว้อย่างละ 1 ชุด และวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมกรณีฉุกเฉิน

กรณีที่2. ระบบการผลิตน้ำประปา ชำรุด หรือไม่สามารถผลิตน้ำได้ทันต่อความต้องการใช้บริการ

  1. แจ้งรายงานผู้บริหารทราบ
  2. เปิดน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคเสริม (เมื่อน้ำประปาไหล)
  3. ปฏิบัติตามกรณีที่ 1 ข้อ 3

กรณี3.ระบบการผลิตน้ำประปา และน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค หรือไม่สามารถผลิตน้ำ ได้ทันต่อความต้องการใช้

  1. แจ้งรายงานผู้บริหารทราบ
  2. เปิดน้ำจากคลองชลประทานมาผลิตเสริม (เมื่อมีน้ำไหล)
  3. ปฏิบัติตามกรณีที่ 1 ข้อ 3

กรณีที่ 1,2,3 ไม่สามารถใช้งานได้

  1. แจ้งรายงานผู้บริหารทราบ
  2. ประเมินสถานการณ์
    2.1ปานกลาง
    2.1.1 แจ้งให้ผู้รับบริการทราบช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ
    2.1.2. ปิดน้ำส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการให้บริการ
    2.2 รุนแรง
    2.2.1ปฏิบัติตามข้อ 2.1 ปานกลาง
    2.2.2 ขอความช่วยเหลือจากการประปาส่วนภูมิภาค และเทศบาลตำบลดอนแก้ว หรือหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
    2.2.3 งานซ่อมบำรุงดำเนินการแก้ไข
    2.2.3.1 แก้ไขได้ เข้าสู่สภาวะปกติ ปฏิบัติตามกรณีที่1,2,3
    2.2.3.2 แก้ไขไม่ได้ ขอความช่วยเหลือจากการประปาส่วนภูมิภาค และเทศบาลตำบลดอนแก้วหรือหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
    – ในกรณีตามข้อ2.2.3.2 แก้ไขได้ ปฏิบัติตามข้อ3.1
    – ในกรณีตามข้อ2.2.3.2 แก้ไขไม่ได้ สถาบัน ฯ งดให้บริการชั่วคราว ปฏิบัติตามข้อ2.2.3 จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ

เมื่อระบบผลิตประปากลับเข้าสู่ภาวะปกติ

  1. แจ้งให้ผู้บริหารทราบ
  2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย/ แจ้งผู้รับบริการให้ทราบโดยการโทรศัพท์ ให้ผู้รับบริการทราบ
  3. สถาบัน ฯ เปิดทำการปกติ

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

  • จัดทำสมุดคู่มือการจัดการ ระบบประปาบาดาล โดยตรวจเช็ค/จดบันทึกปริมาณการใช้และปริมาณการผลิตทุกวัน
  • แผนการบำรุงรักษาระบบประปาบาดาล พัฒนาบ่อ (เป่าบ่อบาดาล 2 บ่อ) และเปลี่ยนสารกรอง เดือน ธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564
  • สำรองวัสดุ อุปกรณ์ในการซ่อมแซม ให้เพียงพอต่อการซ่อมแซม เมื่อระบบผลิต-จ่าย เกิดปัญหาขัดข้อง ให้แล้วเสร็จภายใน 4 ชั่วโมง
  • เมื่อมีเหตุระบบขัดข้อง สามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง เวลาราชการ แจ้งที่งานซ่อมบำรุง โทรศัพท์ภายใน 73410 และ นอกเวลาราชการแจ้งเวรบริหารงานทั่วไป โทรศัพท์ภายใน 73000 (0) หรือ 73146 หรือ 73191 (191)
  • สำรองมอเตอร์ระบบผลิต-จ่ายอย่างน้อย 1 ชุด เมื่อชำรุด สามารถเปลี่ยน/แก้ไขให้ระบบใช้งานได้ภายใน 2 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบ บำรุงรักษา ระบบการจ่ายน้ำทุกวัน ลงในสมุดการจัดการระบบประปาบาดาล โดยเจ้าหน้าที่งานซ่อมบำรุง หากพบเหตุผิดปกติตรวจสอบแก้ไขทันที

 

แชท
Skip to content